ประวัติความเป็นมาและหน้าที่

องค์การสหประชาชาติ: ความเป็นมาและหน้าที่ (The United Nations: History and Functions)

องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศนี้แห่งนี้มีหน้าที่ดูแลสันติภาพและความปลอดภัยของโลก ขอต้อนรับสู่รายการของ WatchMojo.com และในวันนี้เราจะมาเรียนเรื่องประวัติความเป็นมาขององค์การสหประชาชาติ (The United Nations) ค่ะ

ก่อนสหประชาชาติจะก่อตั้งขึ้น องค์การสันนิบาติชาติ (The League of Nations) เป็นองค์การที่รับผิดชอบเรื่องการรักษาไว้ซึ่งสันติภาพของโลก อย่างไรก็ตาม หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง (World War II) อุบัติขึ้น องค์การสันนิบาติชาติได้ถูกลงความเห็นว่าเป็นองค์กรที่ไม่มีประสิทธิภาพมากพอ แนวคิดการจัดตั้งองค์การสหประชาชาติจึงได้ก่อกำเนิดขึ้นในปี ค.ศ.1943

“กุมภาพันธ์ ปี ค.ศ.1945 ประธานาธิบดีโรสเวลท์ (Franklin D. Roosevelt) เดินทางไปที่เมืองยัลตา (Yalta) เพื่อประชุมกับ นายพลโจเซฟ สตาลิน (Joseph Stalin) ผู้นำสูงสุดของสหภาพโซเวียต และ นายวินสตัน เชอร์ชิล (Winston Churchill) นายกรัฐมนตรีของประเทศอังกฤษ เขาทั้งสามหารือกันเพื่อกำหนดทิศทางของหมู่ประเทศในยุโรปเมื่อเยอรมนีพ่ายแพ้ นายพลสตาลินให้คำมั่นว่าจะเข้าร่วมในองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่ในชื่อ “องค์การสหประชาชาติ” (The United Nations)”

คำว่า “องค์การสหประชาชาติ” (The United Nations) นั้นได้นำมาใช้ครั้งแรกโดยประธานาธิบดี แฟรงกลิน เดลาโน โรสเวลท์ (Franklin Delano Roosevelt) เพื่อใช้เรียก “กองกำลังพันธมิตร” (Allied Forces) ในสงครามโลกครั้งที่สอง ในเดือนเมษายนของปี ค.ศ. 1945 ตัวแทนจาก 50 ประเทศทั่วโลกได้มาประชุมกันที่เมือง ซานฟรานซิสโก (San Francisco) เพื่อร่าง “กฎบัตรสหประชาชาติ” (The United Nations Charter) การประชุมครั้งนี้มีชื่อว่า“การประชุมว่าด้วยองค์การระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ” (The United Nations Conference on International Organization) และ ณ ที่แห่งนี้เองที่ผู้เข้าประชุมได้ร่วมลงนามในกฎบัตรสหประชาชาติ

ในวันที่ 24 ตุลาคม ปี ค.ศ. 1945 กฎบัตรสหประชาชาติได้รับการอนุมัติ และถือเป็นวันที่สหประชาชาติถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการ

แรกเริ่มที่ก่อตั้งขึ้น สหประชาชาติมีประเทศสมาชิก 51 ประเทศ ในปัจจุบันจำนวนประเทศสมาชิกได้เพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 200 ประเทศแล้ว (ในปัจจุบันมี 192 ประเทศ-ผู้แปล) องค์การดังกล่าวนี้ได้รับมอบหมายให้สนับสนุนค่ำจุนกฎหมายสากลและสิทธิมนุษยชน อีกทั้งยังรักษาไว้ซึ่งความมั่นคง การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และความก้าวหน้าทางสังคมของทุกประเทศทั่วโลกด้วย

องค์การสหประชาชาติยังแบ่งออกเป็นหน่วยการบริหารย่อยอีกหลายหน่วย ซึ่งแต่ละหน่วยมีหน้าที่ดูแลในเรื่องที่แตกต่างกันไป ตัวอย่างหน่วยบริหารหลักๆมี “สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ” (The United Nations General Assembly) “คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ” (Security Council of the United Nations) “องค์การอนามัยโลก” (World Health Organization) และ “กองทุนสงเคราะห์เด็กแห่งสหประชาชาติ” (United Nations Children Fund-UNICEF)

ตั้งแต่ก่อตั้งมา องค์การสหประชาชาติได้รับมือกับอุบัติการณ์ระหว่างประเทศหลายอย่าง และบรรลุจุดประสงค์หลักขององค์การได้ในหลายรูปแบบด้วยกัน เมื่อปี ค.ศ. 1946 มติแรกของสหประชาชาติถูกจัดตั้งขึ้น เพื่อเรียกร้องการกำจัดอาวุธนิวเคลียร์ นอกจากนี้ สหประชาชาติยังเข้าแทรกแซงเมื่อกองกำลังเกาหลีเหนือเข้ารุกรานเกาหลีใต้เมื่อปี ค.ศ.1950 และรับมือกับ “วิกฤตการณ์คลองสุเอซ” (The Suez Crisis) เมื่อปี ค.ศ.1956 ด้วย

“พิธีสารมอนทรีออล” (Montreal Protocol) เมื่อปี ค.ศ. 1987 แสดงให้เห็นถึงความใส่ใจในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมของสหประชาชาติ สนธิสัญญาดังกล่าวนี้เป็นข้อตกลงสากลฉบับแรกที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อมและปกป้องชั้นโอโซนของโลก

การสนับสนุนในด้านต่างๆขององค์การสหประชาชาติได้รับการยกย่องตลอดมา ยกตัวอย่างเช่น ในปี ค.ศ.1965 องค์การยูนิเซฟ (UNICEF) ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ (Nobel Peace Prize) กระนั้น หลายปีหลังมานี้สหประชาชาติได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างแพร่หลาย จากการเพิกเฉยในประเด็นข้อพิพาทระหว่างประเทศหลายประเด็น การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในประเทศระวันดา (The Rwandan Genocide) เมื่อปี ค.ศ.1994 เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่สหประชาชาติถูกประณามเนื่องจากไม่เข้าไปแทรกแซง “สงครามอีรัก” (Iraq War) ของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช (George W. Bush) ก็เป็นอีกตัวอย่างที่หลายคนเห็นว่าเป็นผลมาจากการเพิกเฉยของสหประชาชาติ

ใส่ความเห็น

ใส่ความเห็น